วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2552

art of relaxation


ปีหน้าที่กำลังจะมาถึง เราได้แต่คาดการณ์กันไปต่างๆว่าชีวิตในวันต่อไปหรือปีต่อไปจะต้องดีกว่าวันนี้
หลายคนยังคงอยู่กับความฝัน แต่"การฝัน" เหล่านั้น ไม่ใช่เรื่องเสียหาย เพราะเราทุกคนมีสิทธิ์ที่จะคิดและฝันกันได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร เพียงแต่ฝันดีหรือร้าย นั่นก็คงแล้วแต่โชคของแต่ละคน

ช่วงครึ่งปีหลังมานี้ การสอนโยคะของเราจะเน้นไปที่การกำหนดลมหายใจเป็นส่วนใหญ่ และเน้นการหายใจให้สัมพันธ์กับท่าฝึก เหตุผลที่ต้องเน้นเรื่องนี้ เพราะการฝึกหายใจเป็นการสร้างสมาธิในระดับพื้นฐานที่สำคัญมากครับ


การพักหลังจากการฝึกโยคะทุกครั้งเป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน เรามาลองศึกษาเรื่อง การนอนพักผ่อนกันดูบ้าง

หากเราสังเกตุเด็กทารกขณะที่นอนหลับ จะเห็นว่าเด็กทิ้งนำ้หนักตัวทั้งหมดลงบนที่นอนโดยไม่มีการเกร็งกล้ามเนื้อส่วนใดเลย
กรณีเดียวกัน ชนเผ่าเร่ร่อนที่มีการเดินทางตลอดเวลา ทั้งกลางวันและกลางคืน เมื่อเดินทางถึงแหล่งพักอาศัย ที่มีแหล่งนำ้อยู่ใกล้ คนเหล่านั้นก็จะทิ้งตัวลงนอนบนพื้น และวางแขนขาไว้ข้างตัว เสมือนคนที่ปราศจากชีวิต ซึ่งอาการดังกล่าวจะเห็นได้ค่อนข้างชัด ซึ่งการพักแบบนี้ 1 ชม. ทำให้ร่างกายของเขามีความสดชื่นขึ้นมากเท่ากับที่คนปกติทั่วไปพักเป็นเวลายาวนานตลอดทั้งคืน ซึ่งชนเผ่าเหล่านี้สามารถเดินทางได้เป็นระยะเวลายาวนานและไกลได้อย่างมาก ทั้งๆที่มีช่วงเวลาพักผ่อนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
จะเห็นได้ว่า ทารกและชนเผ่าที่เรามองว่าล้าหลัง ไม่ได้หลงลืมศิลปะแห่งการพักผ่อนอย่างแท้จริง เพราะพวกเขามีความสามารถที่จะพักผ่อนได้อย่างเต็มที่และสมบูรณ์ ซึ่งแตกต่างจากคนในเมืองใหญ่ และเมื่อคนเหล่านี้ต้องการพัก เขาจะพักผ่อนอย่างเต็มที่และค่อนข้างลึกซึ้ง ซึ่งส่งผลให้ความดันโลหิตลดลงอย่างรวดเร็ว ขณะที่อัตราการเต้นและความตึงเครียดของหัวใจก็จะลดถอยลงไปด้วยเช่นเดียวกัน ศูนย์ประสาทที่ถูกใช้งานมากจนเกินไปจะได้รับการฟื้นฟูให้กลับมาสดชื่นอีกครั้ง ขณะที่ความตึงเครียดของกล้ามเนื้อก็ลดระดับลงจนตำ่กว่าความเครียดขั้นพื้นฐาน พลังงานในร่างกายส่วนที่เหลือก็จะถูกผลิตขึ้นมาอย่างสมำ่เสมอ จากเซลล์ต่างๆภายในร่างกาย และสะสมเพื่อความต้องการที่จะนำออกมาใช้ได้ในอนาคต นอกจากนี้ อารมณ์ปั่นป่วนและความวิตกกังวลต่างๆก็จะหายไปจากจิตใจของเราด้วยเช่นเดียวกัน
หลายคนอ่านแล้วอาจสงสัย แต่จากการค้นคว้าหาข้อมูลที่พบมา การพักผ่อนอย่างแท้จริงที่กล่าวมานี้ มีมานานแล้วตั้งแต่สมัยโบราณ ผู้ปฏิบัติโยคะในอินเดียสมัยโบราณได้เฝ้าดูพฤติกรรมการหลับนอนของบรรดาสัตว์ต่างๆ ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นไม่ได้ต้องการวันหยุดพักผ่อนในแบบที่คนในสังคมเมืองปฏิบัติ ผู้ฝึกโยคะในระดับสูงจะสามารถควบคุมตนเองให้อยู่ในระดับที่ผ่อนคลายอย่างแท้จริง โดยการควบคุมสติและจิตใจให้ผ่อนคลายได้อย่างรวดเร็ว
ในภาษาทางการแพทย์จะเรียกกลไกนี้ว่า สมรรถนะในการสะกดยับยั้งการทำงานของกลไกประสาทรับสัมผัสซึ่งสามารถเป็นไปได้ในผู้ที่มีสมาธิในระดับสูงและผ่าการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี
ตัวอย่างที่กล่าวมา อาจเปรียบเทียบได้กับพนักงานรับโทรศัพท์ คือเมื่อต้องการหยุดพัก และไม่รับโทรศัพท์ก็ปิดสัญญาณรับโทรศัพท์นั่นเอง แม้ว่าสัญญาณที่ส่งมาจะยังคงมีอยู่ แต่เขาจะไม่ได้รับโทรศัพท์ซึ่งทำให้เขาได้พักผ่อนบ้างเป็นครั้งคราว เพื่อให้สมองได้ผ่อนคลาย
เช่นเดียวกับการนอนอย่างสมบูรณ์และรู้สึกตัว ผู้ฝึกโยคะ ( ทั้งในเบื้องต้น,ระดับสูง และโยคี)หากทำได้ จะสามารถเชื่อมโยงตนเองเข้ากับพลังปราณและการหายใจเข้า ออกที่สมบูรณ์ได้ ร่างกายจะเหมือนกับแบตเตอรี่ที่ได้รับการชาร์จพลังอย่างเต็มที่
กรณีดังกล่าวมีการทดลองกับคนไข้ความดันโลหิตสูง 47 คน ให้ทดลองปฏิบัติอาศนะในท่าศพ วันละ 30 นาทีเวลา 40 สัปดาห์ ปรากฏว่า อาการโรคปวดศรีษะ วิงเวียนศรีษะ เส้นประสาท และอารมณ์โกรธฉุนเฉียวง่าย โรคนอนไม่หลับ ได้หายไปจากคนไข้แทบทุกคน (Datey K. Angiology 20 - 1969 )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น