วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556

ตารางเวลาเรียนโยคะ

วันจันทร์ รอบเรียน 09:00 และ 19:00
วันอังคาร รอบเรียน 09:00 และ 19:00
วันพุธ รอบเรียน 09:00 และ 19:00
วันพฤหัสฯ รอบเรียน 19:00
วันศุกร์ รอบเรียน 09:00 และ 20:00
วันเสาร์ รอบเรียน 18:30
วันอาทิตย์ รอบเรียน 09:00 และ 18:30

(ไม่มีทดลองเรียนฟรีแล้วนะครับ และไม่มีสอนที่แจ้งวัฒนะแล้วเช่นกัน)

ขอบคุณครับ

วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การฝึกฝนโยคะที่ดี ไม่ใช่ว่าเราทุกคนต้องทำท่ายากๆได้




หลายคนเข้าใจว่าอาสนะโยคะทุกท่านั้นเราต้องทำให้ได้
ในความเป็นจริงแล้ว เราควรทำความเข้าใจแบบแผนของการฝึกโยคะสักนิด ก่อนที่จะฝึกว่าสรีระของเราไม่ได้เหมาะกับ 840,000 อาสนะโยคะที่มีทั้งหมด
เราอาจเลือกปรับเฉพาะอาสนะที่เหมาะสม ผนวกกับสรีระของเราเองที่บ่งบอกถึงการฝึกในแนวทางที่เหมาะ
ลมหายใจที่ถูกต้อง ท่าฝึกที่เหมาะสม ความสามารถยืดเหยียดได้ในขณะนั้น คือส่วนประกอบหลักที่จะช่วยให้การฝึกเป็นไปอย่างผ่อนคลาย
Published with Blogger-droid v2.0.9

วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

งดทดลองเรียนฟรีตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปครับ

ประกาศแจ้งให้ทราบ : งดทดลองเรียนฟรีตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปครับ ราคาเรียนต่อครั้ง 150 บาท เนื่องจากมีผู้ขอทดลองจำนวนมากที่ไม่มาตามกำหนด ขอยำ้ว่าคนฝึกโยคะต้องมีวินัยและความรับผิดชอบครับ เพราะสถานที่เรามีจำกัด และเรามีนักเรียนประจำที่ตั้งใจเรียนจำนวนมาก จึงไม่สามารถปล่อยที่เรียนให้ว่างได้ครับ ขออภัยเป็นอย่างสูงครับผม ...ครูญา

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การเรียนรู้ตนเองจากภายนอกสู่ภายใน

   ผู้ฝึกโยคะจะเรียนรู้ว่า การฝึกฝนอาสนะนั้น เริ่มต้นที่เราฝึกซำ้จนเริ่มชำนาญ และค่อยๆเรียนรู้การจัดท่าทางและวางตำแหน่งต่างๆของร่างกาย จนเมื่อฝึกไปในระดับหนึ่ง เราจะเข้าใจด้วยตนเองว่า การวางตำแหน่งท่าทางต่างๆบนระนาบของโลกนั้น นำ้หนักที่ถ่ายลงตามจุดสัมผัสต่างๆ ควรวางอย่างไร
   การวางท่่าทางที่ไม่ถูกต้องไม่ใช่เรื่องผิดปกติ เพราะเราต่างคุ้นเคยกับท่วงท่าต่างๆในชีวิตประจำวันมาทั้งชีวิต การเปลี่ยนแปลงด้วยการฝึกจัดท่าทางจึงเป้นสิ่งแปลกใหม่สำหรับผู้เริ่มต้นฝึกโยคะ
   การเรียนรู้และการฝึกฝนโยคะนั้นเริ่มจากภายนอก คือการสังเกตร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปทีละน้อย เข้าสู่ภายในตัวเราเอง ซึ่งจะค่อยๆซึมซับไป
   การรีบเร่งให้ได้ฝึกในอาสนะยากๆ เป็นสิ่งที่เราไม่แนะนำให้ผู้เรียนทำ นอกจากความพร้อมของร่างกายผู้เรียนจะมีสูง จึงเริ่มฝึกในอาสนะที่เพิ่มความยากขึ้นไป
   แต่ก็ไม่ได้เน้นสอนให้เป็นระดับสูงจนเกินไป

หลายท่าที่เราทำไม่ได้ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาด เพราะหากเราเรียนรู้อาสนะทั้งหมดที่มีในโลกอาจใช้เวลามากกว่าหนึ่งชีวิต การทำได้หรือไม่ได้ไม่ใช่คำตอบท้ายที่สุด
ฝึกในสิ่งที่เราทำอยู่ให้ดี แล้วทุกอย่างก็จะดีตามไปเอง

คำตอบสำเร็จรูปไม่มี..สำหรับผู้ฝึกโยคะ

มีแต่คำว่า ทำ กับไม่ทำ ทำก็ได้กับตัวเราเอง

อ่านมากไปก็ไม่สำคัญเท่ากับฝึกฝนจริงๆ

ครูญา 19062012


 

วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555

โยคะและสมาธิ

หลังคลาสฝึกโยคะเย็นนี้ นักเรียนสองสามคนนั่งพูดคุยเรื่องต่างๆ ที่บังเอิญวกเข้าเรื่องของสมาธิและจิต ซึ่งยังเป็นที่สงสัยสำหรับผู้เรียนหลายคนว่า เราจะมีสมาธิหลังจากฝึกโยคะจริงหรือเปล่า..
หากเจาะลึกไปในเรื่องของรายละเอียด เราอาจไม่มีข้อมูลเพียงพอสำหรับการอธิบายลึกลงไปในเรื่องของสมาธิ จนถึงรายละเอียดขั้นตอนของการปฎิบัติ
...สิ่งที่เราทำกันอยู่ทุกวันเป็นการฝึกโยคะที่หนักหน่วงนั้น ใจของข้าพเจ้าคิดถึงการปรับท่วงท่าอาสนะของผู้ฝึกก่อนเป็นอันดับแรก ส่วนเรื่องของลมหายใจที่ยาวนานนั้น เป็นเรื่องสำคัญอีกสิ่งหนึ่งที่ข้าพเจ้าไม่มองข้าม
...ลมหายใจที่ลึกและยาวนาน ช่วยในการปรับอุณหภูมิของร่างกาย ปรับความดันโลหิต ระบบต่างๆจะทำงานช้าลง และท้ายที่สุด เมื่อฝึกไปในระดับหนึ่ง เราจะมีความจดจ่อกับท่วงท่าอาสนะ...
สิ่งนั้นคือจุดเริ่งต้นของการมีสติอยู่กับตัว

นักเรียนโยคะส่วนมากเป็นพนักงานประจำตามบริษัทต่างๆ ที่ชีวิตหนึ่งวันต้องวุ่นวายกับการทำงานตามกำหนดการตามที่บริษัทกำหนด ทุกจังหวะของลมหายใจเข้าออกมีแต่ความรีบเร่ง
คงไม่ต้องถามถึงเรื่องของสมาธิในระดับต่างๆ เพราะการทำงานให้ทันกับเวลาก็แทบไม่ทัน

การสอนของข้าพเจ้าจึงใช้หลักการดูจากภาพรวมของชั้นเรียนนั้นๆ ว่าสิ่งประกอบแวดล้อมมีอะไรบ้าง..
ความรีบเร่งก่อนเข้ามาเรียน การออกมาจากที่ทำงานเพื่อให้ทันเวลาเรียน จึงสลายลงด้วยการฝึกอาสนะที่หนักในช่วงต้น และเมื่อจิตของผู้เรียนเริ่มอยู่กับสิ่งที่กำลังปฏิบัติ นั่นคือการฝึกโยคะ ลมหายใจที่เร็วเร่งก็จะช้าลง

... สมาธิจะมีหรือไม่มีนั้น คงไม่สามารถสรุปได้ในเวลาเพียงสั้นๆ
แต่สิ่งหนึ่งที่ได้แน่นอนนั่นคือ ร่างกายที่มีความยืดหยุ่น

เมื่อร่างกายยืดหยุ่น ความตึงเครียดต่างๆก็ลดถอยลงไป

เป็นธรรมดาของโลก มีหนัก ก็มีเบา
หายใจให้ช้า สูดลมหายใจให้ลึก กำหนดลมหายใจเข้าออก นับเป็น 1:2
คุณจะพบว่า โลกมันไม่ได้เร่งรีบขนาดนั้น

เราเองต่างหากที่รีบเร่งกันไปเอง

yogiya

วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

โยคะกับการลดหน้าท้อง ต้นขา และไขมันส่วนเกินต่างๆ

ท่าฝึกโยคะส่วนมากเน้นที่การปรับสมดุลให้กับร่างกาย บางครั้งผู้สอนจึงให้ฝึกไปตามที่ร่างกายและสรีระของผู้เรียนแต่ละคนจะทำได้
สำหรับในชั่วโมงเรียนบางครั้ง ผู้เรียนถามถึงอาสนะต่างๆที่ช่วยลดส่วนเกินต่างๆ ของหน้าท้องต้นขา ฯลฯ
เราจะนึกไปถึงอาสนะต่างๆ ที่ผู้ฝึกทำแล้วมีความเกี่ยวข้องกับส่วนนั้นๆ โดยที่ในตำราโยคะก็ไม่ได้บอกไว้เช่นเดียวกัน เพียงแต่อาศัยจำจากประสบการณ์และความเป็นไปได้ เช่นต้นขาจะเล็ก ก็ต้องบริหารช่วงต้นขา
จึงเน้นไปที่การเกร็งกล้ามเนื้อส่วนดังกล่าว ท่านักรบจึงเป็นหนึ่งในทางเลือกที่อาจเป็นคำตอบดังกล่าว
และหากเสริมสร้างกำลังกล้ามเนื้อในส่วนที่กล่าวมาด้วย ครูผู้สอนจึงให้ผู้เรียนคงค้างในอาสนะนั้นนานกว่าปกติ
เรื่องของการแก้ปัญหาเป็นส่วนๆ ที่จริงแล้วเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ
...เพราะสาเหตุหลักน่าจะอยู่ที่พฤติกรรมการใช้ชีวิตของเรามากกว่า
กินอย่างไร เราก็เป็นอย่างนั้น

ให้ค่าต่อสิ่งใด เราก็เป็นอยู่เพราะสิ่งนั้น...

ด้วยความเคารพ ^

21052012

วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การดูแลสุขภาพตัวเราเอง

ผู้ที่สามารถดูแลสุขภาพตัวเราเองได้ดีนั้น ไม่ใช่หมอหรือแพทย์ประจำตัวของเราแต่อย่างใด เพราะสุขภาพที่ดีไม่ใช่การได้รับการดูแลจากหมอหรือพยาบาลที่มีความชำนาญโดยเฉพาะทางเพียงด้านเดียว
ปราการด่านแรกที่เราต้องผ่านพ้นไปให้ได้นั้นคือ การดูแลตัวเราเอง

หลายคนที่ปรึกษาปัญหาสุขภาพกับข้าพเจ้า มักจะบอกว่าตนเองไม่มีเวลาในการออกกำลังกาย

ในขณะที่เราพบเจอกันได้ทั่วไป ตามห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร สถานบันเทิง

....

สถานการณ์ของชีวิตเรามีทั้งที่ดีและไม่ดี ที่เราต้องเผชิญ และในสถานการณ์ชีวิตต่างๆนั้น การมีสุขภาพที่ดีกว่าย่อมได้เปรียบ ทำให้เราสามารถฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆให้ผ่านพ้นไปได้
โดยเราต้องดูแลร่างกายเราให้อยู่ในสภาพที่พร้อมเผชิญสิ่งต่างๆเสมอ

ไม่ใช่ว่าจะต้องมาเล่นมาเรียนโยคะฤษีดัดตนทุกคนเสมอไป
การฟื้นฟูสุขภาพมีตั้งแต่กระบวนการทำให้โลหิตไหลเวียนสะดวก อาจเริ่มต้นจากการนวด ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น และขณะเดียวกันก็ควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย
อย่างน้อย วันที่เราได้ริเริ่มความคิดเรื่องสุขภาพ การทำเพื่อตัวเราเอง ให้เรามีสภาพร่างกายที่ดีนั้น เป็นด่านแรก ก่อนที่เราจะก้าวเข้าไปยื่นมือช่วยเหลือคนอื่น

จริงหรือไม่จริงเราคงๆไม่ขยายความ เพราะทุกคนล้วนมีคำตอบในใจอยู่แล้ว ^

***( ภาพประกอบการฝึกประจำวันของผู้เขียน )

วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2555

สวัสดีปีใหม่แบบไทยๆ

ช่วงเทศกาลปีใหม่แบบไทยๆ คนไทยเรามักจะใช้เวลาอยู่กับครอบครัวและการกลับไปเยือนถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเอง และเป็นธรรมเนียมที่ดีงามที่มีการรดนำ้ผู้ใหญ่

การฝึกฝนตนเอง แม้จะไม่ใช่การฝึกโยคะ เราทุกคนก็ทำเป็นวัตรประจำวันได้ง่ายๆ
การสูดลมหายใจช้าๆและลึกๆด้วยการเจริญสติ และตั้งมั่นอยู่ในความไม่ประมาท เป็นช่องทางหนึ่งของการฝึกสมาธิและจิต เช่นเดียวกัน
อาสนะโยคะที่ว่ายากเท่าไรนั้น คงไม่สำคัญเท่ากับการฝึกตนเองให้ตั้งมั่นอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง
มองโลกอย่างที่เห็นและปล่อยให้มันเป็นไป เท่านี้ชีวิตก็มีความสุข ด้วยความเข้าใจง่ายๆเท่านั้นเอง

อาจฟังดูง่าย แต่ไม่ยากที่จะลองทำความเข้าใจ

^ ^

วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555

โยคะกับการเจริญสติ

ในพื้นฐานความเข้าใจทั่วไป เราแบ่งความมุ่งหมายของโยคะไว้ด้วยเส้นที่บางเบา ฝึกโยคะแล้วร่างกายแข็งแรง และฝึกโยคะแล้วได้สมาธิ..
ความเข้าใจที่หลากหลายไม่ใช่ข้อสรุปชี้วัดให้กับความรู้ในสาขาต่างๆ...
เราเองก็ไม่ต้องการให้ทุกข้อเขียนในหน้าเวบบล็อกนี้เป็นข้อสรุปทุกคำถามที่ล่องลอย เราทำได้เพียงช่วยเพิ่มเติมข้อมูลทั้งด้านสุขภาพและจิตวิญญาณ ในระดับที่คนทั่วไปอ่านและนำไปค้นคว้าหาความรู้ประกอบเพิ่มเติม โดยไม่เน้นว่าจะต้องเป็นเนื้อหาเชิงวิชาการที่หนักเกินไป
เกริ่นนำมาจนแทบออกนอกประเด็น...
การเจริญสติเป็นคำที่มีความหมายในทางการปฏิบัติภาวนา
สำหรับผู้ฝึกโยคะ ในการเรียนจะฝึกฝนควบคู่ไปกับการกำหนดลมหายใจ ซึ่งอาจมีอีกหลายวิธีการตามแต่ครูผู้ฝึกสอนเลือกนำมาเป็นบทเรียน สิ่งที่ได้จากการฝึกโยคะคือเรื่องของผลรวมต่อสุขภาพที่ดีขึ้น และการใช้สติควบคู่ขณะฝึก ผู้เรียนต้องคอยฟังการบรรยายอาสนะฝึกและหลักปฏิบัติในขณะฝึก หากผู้เรียนเผลอไปเพียงชั่วขณะ การฝึกจะขาดความต่อเนื่องทันที.. หากจิตใจเราแส่ส่าย การฝึกโยคะจะเป็นการเน้นเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อบริหารส่วนต่างๆให้ทำงานสะดวกขึ้น โดยเราอาจตัดประเด็นของสมาธิออกไปก่อน ให้การเรียนขณะนั้นสอดคล้องกับภาวะของผู้เรียนเอง เพราะประสบการณ์การสอนที่ผ่านมา เมื่อเริ่มคลาส ผู้เรียนบางคนยังพะวงกับเรื่องต่างๆที่คั่งค้าง กว่าจะเข้าขั้นของการให้สติกลับมาอยู่กับตัวนั้น บางครั้งใช้เวลาพอสมควร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภาวะจิตในขณะนั้นนั่นเอง จึงปรับเปลี่ยนการสอนให้ควบคู่กับสถานการณ์ในขณะนั้น เช่นดูจากกลุ่มผู้เรียน เป็นต้น

วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

มนุษย์กับการเคลื่อนไหว

เพราะเราทุกคนต่างคุ้นเคยกับการเคลื่อนไหว วิธีการคิดดังกล่าวจึงติดตัวเราเสมอ และนำมาใช้กับการทำกิจกรรมแทบทุกอย่าง ไม่เว้นแม้แต่การฝึกโยคะ โดยความคิดที่ว่า ยิ่งร่างกายเคลื่อนไหวมากเท่าไร ร่างกายก็ยืดหยุ่นได้มากเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง ตำราโยคะดั้งเดิม ได้กล่าวไว้ถึงอาสนะในความหมายที่ว่า อาสนะนำไปสู่ความนิ่ง และความเป็นปกติสุข ซึ่งเราอาจเข้าใจง่ายๆตามหลักการดำรงชีวิตทั่วไปว่า การเคลื่อนไหวทำให้ร่างกายทำงาน ระบบต่างๆทำงาน ยิ่งเคลื่อนไหวมากยิ่งดี แต่เราอาจลืมคิดในอีกมุมหนึ่งว่า อิริยาบทที่นิ่งและเคลื่อนไหวน้อยที่สุดนั้น ใช่ว่าระบบประสาทจะหยุดการทำงาน (สถิรสุขมาสนะ) เพราะการหยุดนิ่งนั้น ระบบต่างๆของเรายังคงทำงานเต็มที่ เพื่อรักษาร่างกายให้นิ่ง ซึ่งใช้กำลังพอๆกับการเคลื่อนไหว แต่อาจเป็นเพราะความเคยชิน เราจึงเข้าใจกันว่า ยิ่งเคลื่อนไหวมากยิ่งดี
(ติดตามต่อในตอนหน้าครับ)

วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เผาผลาญส่วนเกินของร่างกายด้วยการฝึกโยคะ ทำได้จริงหรือไม่.

     การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโยคะที่มีมากขึ้นในอินเตอร์เนต ทำให้เราค้นคว้าประกอบการตัดสินใจเพื่อการดูแลสุขภาพของตัวเราเอง หรือคนที่เรารักและเป็นห่วงได้ไม่ยากนัก ซึ่งหนึ่งในข้อมูลเหล่านั้น คุณอาจค้นเจอสิ่งที่เราเขียนผ่านตา
     ข้อมูลทางอินเตอร์เนต ช่วยในขั้นพื้นฐานของการสืบค้น เพราะส่วนที่เหลือคือ เราต้องค้นคว้าและทดลองเรียนรู้ด้วยตนเอง จึงจะรู้ เพราะการเรียนโยคะไม่ใช่เพียงการท่องจำ..
     ในห้องเรียน เราบอกอยู่เสมอว่า คุณไม่ต้องพยายามจำอาสนะต่างๆ เพราะยิ่งเราพยายามมากเท่าไร อาจเป็นการปิดกั้นความรู้ ที่เกิดจากการเรียนรู้ระหว่างฝึกปฏิบัติ เพราะในกระบวนการเรียนรู้โยคะ เรารู้ได้จากการเข้าใจในระหว่างท่วงท่าอาสนะ และการฝึกด้วยความเข้าใจ แม้จะไม่มากนัก แต่ความเข้าใจในอาสนะต่างๆนั้น ทำให้เรารู้ถึงความสัมพันธ์ของระบบต่างๆได้เป็นอย่างดี ( ความเข้าใจในธรรมชาติของการหายใจและการยืดหยุ่นกล้ามเนื้อในแบบโยคะ)
     ข้อมูลเชิงวิชาการมีไว้ให้เราเป็นผู้ตรวจสอบด้วยตนเอง ส่วนการปฏิบัติจริงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม การท่องจำและเข้าใจแบบนกแก้วนกขุนทองไม่สนุกเท่ากับการเรียนรู้ในการฝึกจริงๆ
     เราไม่ได้บอกว่าการท่องจำไม่ดี แต่อยากให้คุณลองฝึกด้วยตัวเอง และหากเป็นไปได้ ควรฝึกต่อเนื่องสักระยะ เพื่อดูผลที่ได้จากการฝึก และได้เข้าใจสิ่งที่หนังสือข้อมูลต่างๆให้ไว้อย่างแท้จริง

อย่าเชื่อเพราะการบอกเล่าต่อๆกันมา อย่าเชื่อเพราะการอ่านเพียงอย่างเดียว ทดลองด้วยตัวเอง เพราะคำตอบอยู่ที่การฝึกฝนครับ

ด้วยความปราถนาดี ^

yogiya