วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2552

นาฬิกาชีวิต


นาฬิกาชีวิต
   วงจรชีวิตของเรา มีความสัมพันธ์กันระหว่างกลางวันและกลางคืน ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสุขภาพของชีวิต หากเราสนใจในรายละเอียดที่ลึกลงไปว่า ในหนึ่งวัน ภายในร่างกายของเรามีการไหลเวียนของพลังชีวิตอย่างไร การขับเคลื่อนภายในและภายนอกของพลังชีวิตของคนหนึ่งคน ผ่านอวัยวะภายในของร่างกายซึ่งประกอบไปด้วยอวัยวะตัน และอวัยวะกลวง พอจะแบ่งได้เป็นสองส่วนครับ
อวัยวะตัน หมายถึง หัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด ม้าม ตับ ไต
อวัยวะกลวง หมายถึง กระเพาะอาหาร ถุงนำ้ดี ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ ระบบความร้อนของร่างกาย
การไหลเวียนของพลังชีวิต (ลมปราณ) ที่ผ่านแต่ละอวัยวะนั้นจะใช้เวลาสองชั่วโมง ทั้งหมดมี 12 อวัยวะ รวม 24 ชั่วโมง คือ หนึ่งวัน เราเรียกว่า 
"นาฬิกาชีวิต"
เช่น การไหลเวียนของลมปราณปอด จะมีการไหลเวียนเริ่มต้นที่เวลา 03.00 น. และสูงสุดในช่วงเวลา 04.00 น. จากนั้นจะค่อยๆลดลง และออกจากเส้นลมปราณปอดไปยังเส้นลมปราณลำไส้ใหญ่ เวลา 05.00 น. การรักษาโรคของเส้นลมปราณปอดที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุดจึงควรอยู่ระหว่างเวลา 03.00 - 05.00 น. และได้มีการศึกษาวิจัยพบว่า ผลของการใช้ยาตะวันตกคือ ยาดิติตาลิสในการรักษาโรคหัวใจล้มเหลว(มีการคั่งของนำ้ในปอด) การให้ยาในช่วงเวลา 04.00 น. จะให้ผลออกฤทธิ์ประมาณสี่สิบเท่าของการให้เวลาอื่น
การเคลื่อนไหวของพลังชีวิตของอวัยวะภายในมีกฏเกณฑ์ที่แน่นอนและสัมพันะ์เกี่ยวข้องกับเวลา (นาฬิกาชีวิต) ร่างกายเราจึงมีกลไกการปรับตัว มีการสร้างสารคัดหลั่งฮอร์โมน การทำงานของระบบต่างๆ เป็นไปตามสภาพของธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไป
การดำเนินชีวิตและปรับพฤติกรรมชีวิตประจำวันให้สอดคล้องกับธรรมชาติของร่างกาย จึงเป็นพื้นฐานของการมีสุขภาพที่ดี ปราศจากโรค โดยแบ่งเป็นช่วงเวลาดังนี้
01.00 - 03.00 น .ช่วงเวลาของตับ ควรนอนหลับพักผ่อน ถ้าใครนอนหลับได้ดีเป็นประจำในช่วงเวลานี้ ตับจะหลั่งสารมีราโทนิน (meratonine) เพื่อฆ่าเชื้อโรค ทำให้หน้าอ่อนกว่าวัย นอกจากร่างกายจะหลั่งมีราโทนินประจำแล้ว ยังหลั่งสารเอนโดรฟิน (endrophin) ออกมาด้วย จึงไม่ควรทานอาหาร เพราะจะทำให้ตับทำงานหนักและเสื่อมเร็ว
หน้าที่หลักของตับคือขจัดสารพิษในร่างกาย ส่วนหน้าที่อื่นคือ ช่วยไตในการดูแล ผม ขน และเล็บ ถ้าตับมีปัญหา ผม ขน เล็บจะไม่สวย และตับยังช่วยกระเพาะในการย่อยอาหาร ถ้าเรารับประทานบ่อยๆ จะทำให้ตับทำงานหนัก ตับจะหลั่งนำ้ย่อยออกมามาก จึงไม่ได้ทำหน้าที่หลัก เป็นเหตุให้มีสารพิษตกค้างในตับ
03.00 - 05.00 น. ช่วงเวลาของปอด เราควรตื่นนอนลุกขึ้นเพื่อสูดอากาศบริสุทธิ์ และรับแสงแดดยามเช้า ผู้ที่ตื่นนอนช่วงนี้ประจำปอดและผิวจะดีขึ้น
05.00 - 07.00 น. ช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่ ควรขับถ่ายอุจจาระให้เป็นนิสัยทุกเช้า ถ้าไม่ถ่ายให้ใช้วิธีกดจุดที่ตำแหน่งสองข้างของจมูก ถ้ายังไม่ถ่ายให้ดื่มนำ้อุ่น 2 แก้ว ถ้ายังไม่ถ่ายให้ดื่มนำ้ผึ้งผสมมะนาว โดยใช้นำ้ 1 แก้วผสมนำ้ผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะและผสมนำ้มะนาว 4 -5 ลูก ทำดื่มจนกว่าจะถ่ายหรือบริหารโดยยืนตรง หายใจเข้าแล้วก้มลงพร้อมทั้งหายใจออก เอามือท้าวเข่า แขม่วท้องจนเหมือนว่าหน้าท้องไปติดสันหลัง
07.00 - 09.00 น. ช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารจะทำงาน ถ้ากินอาหารเช้าในช่วงเวลานี้ทุกวัน กระเพาะจะแข็งแรง ถ้าปล่อยให้กระเพาะอ่อนแอ จะส่งผลให้เป้นคนตัดสินใจช้า ขี้กังวล ขาไม่ค่อยมีแรง ปวดเข่า และหน้าแก่เร็ว
09.00 - 11.00 น. ช่วงเวลาของม้าม ม้ามจะอยู่ชายโครงด้านซ้าย มีหน้าที่ควบคุมเม็ดเลือด สร้างนำ้เหลือง ควบคุมไขมัน คนที่ปวดศรีษะบ่อยมักเกิดจากความผิดปกติของม้าม อาการเจ็บชายโครงสาเหตุมาจากม้ามกับตับ คือ
- ม้ามโต ม้ามจะไปเบียดปอด ทำให้เหนื่อยง่าย ผอมเหลือง ตาเหลือง สร้างเม็ดเลือดขาวได้น้อย
- ม้ามชื้น อาหารและนำ้ที่กินเข้าไปจะแปรสภาพเป็นไขมัน จึงทำให้อ้วนง่าย
คนที่นอนหลับในช่วง 09.00 - 11.00 น. ม้ามจะอ่อนแอ นอกจากนี้ม้ามยังโยงถึงริมฝีปาก คนที่พูดบ่อยๆ ม้ามจะชื้น เราจึงควรพูดน้อยกินน้อย เพื่อให้ม้ามแข็งแรง
11.00 - 13.00 น. ช่วงเวลาของหัวใจ หัวใจจะทำงานหนักในช่วงนี้ จึงควรหลีกเลี่ยงความเครียดและเรื่องที่ทำให้ต้องใช้ความคิดหนัก และระงับอารมณ์ตื่นเต้นหรืออาการตกใจทุกอย่าง
13.00 - 15.00 น. ช่วงเวลาของลำไส้เล็ก ควรงดการรับประทานอาหารทุกประเภทเพื่อเปิดโอกาสให้ลำไส้ทำงาน ลำไส้เล็กมีหน้าที่ดูดซึมสารอาหารที่เป็นนำ้ทุกชนิด เช่นวิตามินซี บี โปรตีนเพื่อสร้างกรดอมิโน สร้างเซลล์สมอง ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างไข่สำหรับผู้หญิง ถ้ากรดอมิโนน้อย ไข่จะมาไม่ครบทุกเดือน ผู้หญิงมีลำไส้ยาวกว่าผู้ชาย 11 ฟุต เพื่อให้การดูดซึมได้นานกว่า เนื่องจากต้องใช้กรดอมิโนมากกว่าผู้ชาย
15.00 - 17.00 น. ช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งจะมีหน้าที่เกี่ยวกับระบบความจำ ไทรอยด์ และระบบเพศทั้งหมด ช่วงเวลานี้จึงควรทำให้เหงื่อออก อาจออกกำลังกาย หรืออบตัว กระเพาะปัสสาวะจะได้แข็งแรง
ข้อควรระวังคือ ถ้าเหงื่อมีโซเดียมปนออกมามากไตจะวาย แต่ถ้ามีโปตัสเซียมปนออกมามาก หัวใจจะวาย แก้ไขได้โดยการดื่มนำ้ส้มหรือนำ้มะนาวเพื่อเพิ่มโปตัสเซียม
ส่วนการกลั้นปัสสาวะบ่อยๆ ปัสสาวะจะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด ทำให้เหงื่อที่ออกมามีกลิ่นเหม็นเหมือนปัสสาวะ
17.00 - 19.00 น. ช่วงเวลาของไต จึงควรทำใจให้สดชื่น ไม่ง่วงเหงาหาวนอนเวลานี้ ถ้าใครมีอาการง่วงนอนเวลานี้ แสดงว่ามีปัญหาเรื่องไตเสื่อม และถ้านอนหลับแล้วเพ้อ แสดงว่าอาการหนักมาก
- ไตซ้าย จะคุมสมองด้านขวา ซึ่งควบคุมด้านความคิดสร้างสรรค์ อารมณ์สุนทรีย์ รักสวยรักงาม ชอบแต่งตัว ถ้าไตซ้ายมีปัญหา อารมณ์รักสวยรักงามจะหมดไป กลายเป็นคนปล่อยเนื้อปล่อยตัวและเป็นคนขี้ร้อน
- ไตขวา จะคุมสมองด้านซ้าย ซึ่งควบคุมด้านความจำ ถ้าไตขวามีปัญหา ความจำจะเสื่อม และเป็นคนขี้หนาว
ถ้าลำไส้เล็กมีไขมันเกาะมาก อาหารที่อยู่ในรูปของสารละลายจะผ่านลำไส้เล็กไม่ได้ จึงตกเป็นภาระของไต เป็นผลให้ไตทำงานหนัก กลายเป็นโรคไต สมองจะเสื่อม ปวดหลัง เป็นหวัดง่าย มีเสลดในคอ การดูแลคือ ตอนเช้าอาบนำ้เย็น ตอนเย็นให้อาบนำ้อุ่น กรณีที่อาบนำ้ไม่ได้ ให้ใช้วิธีแช่เท้า แต่นำ้ควรใส่สมุนไพรเช่น ขิง ข่า กระชาย อย่างใดอย่างหนึ่ง
19.00 - 21.00 น. ช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ ช่วงเวลานี้ควรจะสวดมนต์ ทำสมาธิ ปัญหาเกี่ยวกับเยื่อหุ้มหัวใจ คือหัวใจโต หัวใจรั่ว เส้นเลือดหัวใจตีบ ดังนั้นต้องระวังเรื่องตื่นเต้น ดีใจ การหัวเราะ กรณีเส้นเลือดขอด ต้องดูแลเยื่อหุ้มหัวใจให้แข็งแรง ใส่เสื้อผ้าชุดสีดำหรือเทา เอาเท้าแช่ในนำ้อุ่น
21.00 - 23.00 น. ช่วงเวลาที่ต้องทำให้ร่างกายอบอุ่น ไม่ควรอาบนำ้เย็นช่วงเวลานี้ เพราะจะทำให้เจ็บป่วยง่าย
23.00 - 01.00 น. ช่วงเวลาของถุงนำ้ดี (ถุงสำรองเก็บนำ้ย่อยที่ออกมาจากตับ) เมื่ออวัยวะใดในร่างกายขาดนำ้ จะมาดึงนำ้จากถุงนำ้ดี ทำให้ถุงนำ้ดีข้น ทำให้อารมณ์ฉุนเฉียว เหงือกบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับ จามตอนเช้า ควรสวมชุดนอนผ้าฝ้าย และดื่มนำ้ก่อนนอน หรือก่อนเวลา 23.00 น.
ที่เอามาเขียนนี้เป็นวงจรในหนึ่งวันของร่างกาย ส่วนใครจะปฏิบัติอะไรได้แค่ไหน คงแล้วแต่โอกาสเหมาะสมของแต่ละคน ลองปฏิบัติและใส่ใจกับสิ่งเหล่านี้ดูครับ แล้วจะพบว่ามีอะไรอีกมากมายที่เรายังไม่รู้เยอะจริงๆ

1 ความคิดเห็น: