วันศุกร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2551

การทำและฝึกสมาธิ (Meditation)


การทำสมาธิ เป็นคุณสมบัติที่เรามีกันทุกคน การเข้าสมาธิคล้ายกับการนอนหลับ แต่เรารู้สึกตัวตลอดเวลา เช่นขณะที่เราสนใจทำงานอย่างตั้งใจโดยที่เราไม่รู้ตัวเรียกว่า สมาธิ เช่นเดียวกัน
   ความสุขจากการทำสมาธิจะมีอยู่ช่วงเวลาสั้นๆ แต่หากจะทำให้มีความสุขนานขึ้น และสงบได้ ต้องรู้จักการควบคุมจิตใจของเรา และหากเน้นให้ลึกคือ การรู้เท่าทันตัวเอง (meditation) ในภาษาไทยมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การเข้าฌาณ ซึ่งเป็นประสบการณ์ของแต่ละคน ที่ไม่สามารถอธิบายได้
ภาวะสมาธินี้ เป็นภาวะที่ไม่มีเวลา ไม่มีสถานที่ และไม่มีเหตุผล อาการคล้ายกับคนที่หลับสนิท แต่จะแตกต่างกันตรงที่มีจิตใจสงบ ไม่วอกแวก และภาวะนี้มีผลในการทำให้ร่างกายเสื่อมช้าลง

การฝึก Meditation
-ควรฝึกอย่างสมำ่เสมอ เวลาและสถานที่เดียวกัน
-เวลาที่เหมาะสมในการฝึก เป็นเวลาหลังจากตื่นนอน และเวลาคำ่ หรือเวลาว่าง 1 ชม ควรเลือกช่วงที่จิตใจสงบ
-เลือกสถานที่ในการฝึกที่สงบ และอากาศถ่ายเทดี
-การฝึกควรนั่งขัดสมาธิ(ท่าดอกบัว) ลำตัวตั้งตรง
-ควบคุมจิตใจของเรา ขณะฝึก ไม่คิดเรื่องอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต
-หายใจเข้าออกลึกๆ ประมาณ 5 นาที โดยหายใจเข้าลึกๆ ประมาณ 3วินาที และหายใจออกช้าๆ ประมาณ2 วินาที
-การฝึกไม่ควรเร่งให้จิตใจสงบ ฝึกอย่างช้าๆ อาจเพิ่มเวลาในการฝึกเมื่อเห็นว่าสามารถควบคุมร่างกายและจิตใจได้ในระดับหนึ่ง
การฝึกลักษณะนี้ไม่สามารถยืนยันได้ว่า ทุกคนจะฝึกและประสบความสำเร็จได้ ขึ้นอยู่กับสภาวะร่างกายและจิตใจ หากมีเรื่องกังวลมากไป จะไม่สามารถเข้าสู่สภาวะนี้ได้ (เพราะจากประสบการณ์ของเรา พบว่าปัจจัยต่างๆรอบข้างเป็นองค์ประกอบที่จะส่งเสริมให้การเข้าสภาวะ meditation ได้ดี และหากจิตใจไม่สงบ ฟุ้งซ่านเราก็ไม่อาจเข้าสู่สภาวะนี้ได้เลย)
*** บางตำรากล่าวว่า สภาวะนี้ช่วยให้ร่างกายเสื่อมสภาพช้าลง อย่างไรคงต้องทดลองกันด้วยตัวเองนะครับ
ขอเอาใจช่วยทุกคนครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น