วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การเรียนรู้ตนเองจากภายนอกสู่ภายใน

   ผู้ฝึกโยคะจะเรียนรู้ว่า การฝึกฝนอาสนะนั้น เริ่มต้นที่เราฝึกซำ้จนเริ่มชำนาญ และค่อยๆเรียนรู้การจัดท่าทางและวางตำแหน่งต่างๆของร่างกาย จนเมื่อฝึกไปในระดับหนึ่ง เราจะเข้าใจด้วยตนเองว่า การวางตำแหน่งท่าทางต่างๆบนระนาบของโลกนั้น นำ้หนักที่ถ่ายลงตามจุดสัมผัสต่างๆ ควรวางอย่างไร
   การวางท่่าทางที่ไม่ถูกต้องไม่ใช่เรื่องผิดปกติ เพราะเราต่างคุ้นเคยกับท่วงท่าต่างๆในชีวิตประจำวันมาทั้งชีวิต การเปลี่ยนแปลงด้วยการฝึกจัดท่าทางจึงเป้นสิ่งแปลกใหม่สำหรับผู้เริ่มต้นฝึกโยคะ
   การเรียนรู้และการฝึกฝนโยคะนั้นเริ่มจากภายนอก คือการสังเกตร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปทีละน้อย เข้าสู่ภายในตัวเราเอง ซึ่งจะค่อยๆซึมซับไป
   การรีบเร่งให้ได้ฝึกในอาสนะยากๆ เป็นสิ่งที่เราไม่แนะนำให้ผู้เรียนทำ นอกจากความพร้อมของร่างกายผู้เรียนจะมีสูง จึงเริ่มฝึกในอาสนะที่เพิ่มความยากขึ้นไป
   แต่ก็ไม่ได้เน้นสอนให้เป็นระดับสูงจนเกินไป

หลายท่าที่เราทำไม่ได้ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาด เพราะหากเราเรียนรู้อาสนะทั้งหมดที่มีในโลกอาจใช้เวลามากกว่าหนึ่งชีวิต การทำได้หรือไม่ได้ไม่ใช่คำตอบท้ายที่สุด
ฝึกในสิ่งที่เราทำอยู่ให้ดี แล้วทุกอย่างก็จะดีตามไปเอง

คำตอบสำเร็จรูปไม่มี..สำหรับผู้ฝึกโยคะ

มีแต่คำว่า ทำ กับไม่ทำ ทำก็ได้กับตัวเราเอง

อ่านมากไปก็ไม่สำคัญเท่ากับฝึกฝนจริงๆ

ครูญา 19062012


 

วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555

โยคะและสมาธิ

หลังคลาสฝึกโยคะเย็นนี้ นักเรียนสองสามคนนั่งพูดคุยเรื่องต่างๆ ที่บังเอิญวกเข้าเรื่องของสมาธิและจิต ซึ่งยังเป็นที่สงสัยสำหรับผู้เรียนหลายคนว่า เราจะมีสมาธิหลังจากฝึกโยคะจริงหรือเปล่า..
หากเจาะลึกไปในเรื่องของรายละเอียด เราอาจไม่มีข้อมูลเพียงพอสำหรับการอธิบายลึกลงไปในเรื่องของสมาธิ จนถึงรายละเอียดขั้นตอนของการปฎิบัติ
...สิ่งที่เราทำกันอยู่ทุกวันเป็นการฝึกโยคะที่หนักหน่วงนั้น ใจของข้าพเจ้าคิดถึงการปรับท่วงท่าอาสนะของผู้ฝึกก่อนเป็นอันดับแรก ส่วนเรื่องของลมหายใจที่ยาวนานนั้น เป็นเรื่องสำคัญอีกสิ่งหนึ่งที่ข้าพเจ้าไม่มองข้าม
...ลมหายใจที่ลึกและยาวนาน ช่วยในการปรับอุณหภูมิของร่างกาย ปรับความดันโลหิต ระบบต่างๆจะทำงานช้าลง และท้ายที่สุด เมื่อฝึกไปในระดับหนึ่ง เราจะมีความจดจ่อกับท่วงท่าอาสนะ...
สิ่งนั้นคือจุดเริ่งต้นของการมีสติอยู่กับตัว

นักเรียนโยคะส่วนมากเป็นพนักงานประจำตามบริษัทต่างๆ ที่ชีวิตหนึ่งวันต้องวุ่นวายกับการทำงานตามกำหนดการตามที่บริษัทกำหนด ทุกจังหวะของลมหายใจเข้าออกมีแต่ความรีบเร่ง
คงไม่ต้องถามถึงเรื่องของสมาธิในระดับต่างๆ เพราะการทำงานให้ทันกับเวลาก็แทบไม่ทัน

การสอนของข้าพเจ้าจึงใช้หลักการดูจากภาพรวมของชั้นเรียนนั้นๆ ว่าสิ่งประกอบแวดล้อมมีอะไรบ้าง..
ความรีบเร่งก่อนเข้ามาเรียน การออกมาจากที่ทำงานเพื่อให้ทันเวลาเรียน จึงสลายลงด้วยการฝึกอาสนะที่หนักในช่วงต้น และเมื่อจิตของผู้เรียนเริ่มอยู่กับสิ่งที่กำลังปฏิบัติ นั่นคือการฝึกโยคะ ลมหายใจที่เร็วเร่งก็จะช้าลง

... สมาธิจะมีหรือไม่มีนั้น คงไม่สามารถสรุปได้ในเวลาเพียงสั้นๆ
แต่สิ่งหนึ่งที่ได้แน่นอนนั่นคือ ร่างกายที่มีความยืดหยุ่น

เมื่อร่างกายยืดหยุ่น ความตึงเครียดต่างๆก็ลดถอยลงไป

เป็นธรรมดาของโลก มีหนัก ก็มีเบา
หายใจให้ช้า สูดลมหายใจให้ลึก กำหนดลมหายใจเข้าออก นับเป็น 1:2
คุณจะพบว่า โลกมันไม่ได้เร่งรีบขนาดนั้น

เราเองต่างหากที่รีบเร่งกันไปเอง

yogiya